วันอาทิตย์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2554

การนอน

ควรจะนอนหลับแค่ไหนถึงจะเรียกว่าพอดี
จริงๆแล้ว จะไม่มีคำตอบเป็นจำนวนชั่วโมงที่ตายตัวลงไปว่าเราจะต้องนอนกันคืนละกี่ชั่วโมงจึงจะเรียกได้ว่าเพียงพอ จำนวนชั่วโมงเหล่านี้จะมากน้อยแตกต่างกันไปในแต่ละคน กรรมพันธุ์อาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องได้ด้วย แต่ถ้าพูดถึงช่วงเฉลี่ยแล้ว อาจกล่าวได้ว่า จำนวนชั่วโมงของการนอนหลับในผู้ใหญ่จะตกอยู่ราวๆ 6-9 ชั่วโมง ซึ่งในบางคนอาจพบแตกต่างจากนี้ได้ เช่น บางคนอาจรู้สึกว่าได้นอน 5 ชั่วโมง ก็รู้สึกสดชื่นแล้ว แต่บางคนอาจต้องการถึง 10 ชั่วโมง จึงจะรู้สึกสดชื่น เพราะฉะนั้นจำนวนชั่วโมงว่าจะนานแค่ไหนนั้น ขึ้นอยู่กับว่า เมื่อเราตื่นขึ้นมาแล้ว เราจะรู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า สามารถทำงานได้ตลอดวันหรือไม่ต่างหาก
นอนกรนเกิดจากอะไร
เสียงกรนเป็นเสียงเนื่องจากการสั่นสะเทือนของลมหายใจ ผ่านช่องทางเดินหายใจส่วนบนที่แคบลง และเปลี่ยนรูปร่างไป เกิดได้ทั้งในขณะหายใจเข้าและหายใจออก การนอนกรนในตัวของมันเองไม่เป็นอันตราย แต่มันอาจนำไปสู่การเกิดการหยุดหายใจในขณะหลับได้ การที่น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น การใช้ยานอนหลับหรือสารในกลุ่มกลุ่มนี้ อาจจะทำให้คนที่นอนกรนมานานกลายเป็นผู้ที่มีปัญหา sleep apnea ได้ (การหายใจหยุดเป็นพักๆในขณะหลับ) นอกจากนี้ข้อมูลทางการศึกษา บ่งชี้ว่าการนอนกรนเสียงดัง และเรื้อรังนั้น อาจสัมพันธ์กับการเกิดความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจได้
จำเป็นต้องรักษาการนอนกรนหรือไม่
ถ้าการนอนกรนนั้น พบร่วมกับปัญหาทางโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น ความดันโลหิตสูง หรือโรค sleep apnea (การหยุดหายใจเป็นช่วงๆในขณะหลับ) หรือพร้อมกับมีอาการง่วงนอนผิดปกติในระหว่างวัน การนอนกรนนั้นควรได้รับการรักษา ซึ่งก่อนที่จะวางแผนการรักษานั้น จำเป็นที่คนๆนั้น จะต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยจากห้องปฏิบัติการการนอนหลับเสียก่อน เพื่อประเมินความรุนแรง และปัจจัยที่มีผลต่อการนอนกรน เช่น ท่าของการนอน การรักษาการนอนกรนที่มีปัญหาร่วมกับการเกิด sleep apnea (การหยุดหายใจเป็นช่วงๆ ในขณะหลับ) นั้น มีหลายวิธีขึ้นกับความรุนแรงของโรค เช่น อาจใช้เครื่องมือที่พ่นลมผ่านจมูกเข้าสู่ทางเดินหายใจ เพื่อลดปัญหาการอุดตันของทางเดินหายใจ ซึ่งจะเป็นตัวรักษาอาการหายใจผิดปกติได้ โดยตรงใน ผู้ที่มีปัญหา sleep apnea (การหยุดหายใจเป็นช่วงๆ ในขณะหลับ) หรืออาจใช้การฝึกท่านอนให้นอนตะแคง ถ้าการนอนหงายมีผลทำให้เกิดการนอนกรน นอกจากนี้อาจใช้เบ้าหล่อใส่ไว้ในช่องปากเพื่อกันลิ้นตก หรือปรับตำแหน่งของกรามในขณะที่เรานอนหลับ เพื่อลดปัญหานอนกรน

ผลเสียของการนอนไม่พอ

นอนไม่พอ...ทำให้อ้วน


การที่คนเราอดนอนมาก ๆ จะทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนกระตุ้นการเจริญเติบโตทางกายภาพ และควบคุม สัดส่วนของไขมันต่อกล้ามเนื้อในร่างกายน้อยลง ทำให้ร่างกายรู้สึกอยากรับประทานอาหารมากขึ้น นอกจากนี้การนอนไม่เพียงพอนั้น ยังส่งผลต่อฮอร์โมนเลปติน ซึ่งเป็นสารที่สื่อต่อระบบประสาทว่า ควรจะอิ่มได้เร็วหรือช้าเท่าใด ตามความต้องการอาหารของร่างกาย เมื่อระดับเลปตินลดลงจากการนอนน้อย ผู้คนจะรู้สึกอยากอาหารมากขึ้น แม้จะได้กินอาหารจนได้พลังงานเพียงพอแล้วก็ตาม
นอนไม่พอ...ทำให้ขาดภูมิต้านทาน
ส่วนหนึ่งที่เห็นได้ชัดจากการอดกลับอดนอนนั่นคือ หากสมากชิกในบ้านของคุณหรือตัวคุณเองที่ อดนอนมาก ๆ จะหน้าตาซีดเซียว ไม่มีน้ำมีนวล เจ็บป่วยง่ายขึ้นเมื่อเจอเชื้อโรคเพราะการนอนไม่พอจะส่งผล ต่อเม็ดเลือดขาว และกลไกการตอบสนองภูมิคุ้มกันต่าง ๆ ของร่างกายนั่นเอง
นอนไม่พอ...ทำให้เป็นมะเร็ง
การนอนไม่พออาจส่งผลร้ายแรงถึงขั้นเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งที่มีความเกี่ยวข้องกันในเรื่องวงจรการหลั่ง ฮอร์โมนแปรปรวน เนื่องมาจากการอดนอนและ แสงรบกวนในเวลากลางคืน ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็น มะเร็งเต้านม ฉะนั้น นอกจากเราควรจะนอนให้เพียงพอแล้ว เรายังไม่ควรเปิดไฟนอนอีกด้วย
นอนไม่พอ...ทำให้โง่
ศ.เจอร์เกน ซัลเลย์ นักวิจัยพฤติกรรมการนอนหลับ วิทยาลัยแพทย์รีเกนส์เบิร์ก เปิดเผยว่า การอดนอนส่งผลกระทบเลวร้ายต่อร่างกาย จะทำให้ประสิทธิภาพการจดจำลดลง ดังนั้นควรนอนพักผ่อนอย่างน้อยคืนละ 7 ชั่วโมงเพื่อความมีสุขภาพที่ดี
          อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะมีงานวิจัยหรือไม่ คนส่วนใหญ่ย่อมรู้กันดีว่า การที่คนเราอดนอนนั้นทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลงอยู่แล้ว แต่เมื่อมีงานวิจัยออกมายืนยันถึงผลร้ายของการอดนอนแบบนี้ คนที่นอนไม่พอหรือยังบริหารเวลาในชีวิตการทำงานและชีวิตครอบครัวไม่ดี ควรตระหนักและเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสียตั้งแต่วันนี้ ก่อนจะเกิดผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวของคุณ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น