วันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2554

กระต่าย


วิธีเลี้ยงกระต่าย
1   กระต่ายป้ายแดง กระต่ายที่เพิ่งได้มาใหม่ ๆ ในวันแรก อาจจะมีการการตื่นสถานที่อยู่เล็กน้อย เพราะเนื่องจากย้ายบ้านมาวันแรก ๆ อาจจะไม่ค่อย ยอมกินอาหาร ไม่อึ ไม่ถ่าย  นั้น เป็นเรืองปกติสำหรับกระต่ายที่ย้ายบ้านวันแรก เราต้องทำให้เค้าคุ้นเคย กับสถานที่ก่อน ซัก 2-3 วัน ถ้ากระต่ายเริ่มกินอาหารแล้ว แสดงว่าเค้า ไม่ตื่นที่แล้ว เอา ออกมาอุ้มมาเล่นได้  แต่พยายาม เล่นกับเค้าเบา ๆ ก่อน อย่าเพิ่มเอามา ฟัดแรง ๆ   เราแนะนำให้ เล่นกับเค้าเบา ๆ ก่อน ในสัปดาห์แรก ๆครับ และท่าที่ทุกคนชอบอุ้มกระต่ายหงายท้องเพราะชืนชอบความน่ารัก เราไม่แนะนำให้ทำ สำหรับคุณแม่มือใหม่ เพราะไม่ใช่ท่าที่กระต่ายชอบ สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ชำนาญแล้วเรายกเว้น
การเลือกการว่างตำแหน่งกรง   เป็นสิ่งสำคัญที่สุด  อย่าวางกรงในตำแหน่งที่โดนแสงแดด / ฝน โดยตรงเพราะ จะทำให้กระต่าย ถึงแก่ชีวิตได้  เราควรวางกรงกระต่ายในตำแหน่งที่อุณหภูมิคงที่ ไม่ว่ากลางวันหรือกลางคืนให้อากาศ ไม่ต่างกันเกินไป ยิ่งอากาศบ้านเรา เดียวร้อนเดียวหนาว  เดียวฝนเดียวแดด  กระต่าย ที่มาใหม่ ๆ ป่วยได้ ควรเลี้ยงในที่ร่มก่อนจะดีกว่า ถ้าถามว่ากลางวันเราไปทำงานกลางคืนเปิดแอร์กระต่ายจะอยู่ได้ หรือไม่ ตอบว่าได้ครับ แต่ตอนที่เราไม่อยู่ควรให้อากาศถ่ายเทบาง หรือจะเปิดพัดลมก็ให้เปิดส่ายไปมา อย่าเปิด ตรง ๆ นอกจากกระต่ายของท่านจะได้ลมพัดเย็นสบายแล้ว กลิ่นของกระต่ายก็จะลดลงไปด้วยสบายทั้งคุณและกระต่าย..
 อาหารการกิน     สิ่งแรกที่ต้องทำและห้ามลืมคือ ถามร้านค้าที่ท่านซื้อมาว่าให้กระต่ายกินอาหาร ยี่ห้อ อะไร อยู่ สูตรไหน  เคยกินของสดหรือไม่  ถ้ายังไม่ถึง 6 เดือน ให้งดของสดไปก่อน ให้กินแต่อาหารเม็ดกับหญ้าแห้งไปก่อนดีกว่า  หญ้าแห้งที่กินได้ ก็ คือ หญ้า อัลฟาฟ่า  ทีมโมที่  แพงโกล่า แดดเดียว  เพราะถ้ากระต่ายไม่เคยกินแล้วให้เค้ากินอาจจะท้องเสียได้ ต้องมารักษา อีก ถ้าอยากจะเปลี่ยนอาหารเม็ด จากที่ร้านให้ ท่านไป ท่านเปลี่ยนได้แต่หลังจากที่เลี้ยงไปได้ ซัก 1 สัปดาห์แล้ว และวิธีการเปลี่ยนอาหารกระต่ายก็คือ ค่อย ๆ เอา อันใหม่มาผสมกับอันเก่า  กระต่ายมีเวลาปรับตัวนานเท่าไหร ยิ่งดี 
 4    ถ้าเราต้องออก ไปข้างนอกต้องทำอย่างไร   เมื่อเราเตรียมสถานที่ ไว้ ให้ กระต่ายของเราเรียบร้อยแล้ว หลาย ๆ ท่านชอบถามว่า ถ้า เราไม่อยู่บ้านหรือ ออก ไปทำงาน ต้องทำอย่างไร สมสมุติว่าถ้าเราออกไปทำงานหรือว่าเรียน ให้เอากระต่ายไว้ในรงจะดีที่สุดครับ เพราะว่าคุมพฤติกรรมได้ง่าย  เพราะถ้าปล่อยออกมาเดินเพ่นพ่าน อาจจะหากระต่ายของเราไม่เจอ     ไม่ต้องกลัวเค้าเครียดเพราะว่าเราไม่ได้ขังเค้าไว้ตลอดเวลา เดียวกลับมาก็ปล่อยวิ้งเล่นได้ปกติแล้ว   คอยดูว่าถ้าเราไม่อยู่ให้ เค้ามีอาหารและน้ำอย่างพอเพียง ถ้ากลัวเค้าร้อนก็เปิดแอร์ ทิ้งไว้ (สำหรับท่านที่ไม่เครียดเรื่องค่าไฟ )  แต่ถ้าจะเปิดพัดลมก็ให้ เปิด ส่ายไปมา อย่าเปิดแอร์ หรือ พัดลมใส่ตัวกระต่ายโดยตรงเพราะจะทำให้  กระต่ายเป็นหวัดและไม่สบายได้   ถ้าเราไม่อยู่ เช่นไปเทียวต่างจัวหวัดหลายวัน วิธี ที่ดีที่สุดคือ ฝากกระต่ายไว้กับคลีนิค  หรือฝากไว้กับเพื่อนที่เลี้ยงกระต่ายด้วยกัน จะดีที่สุด
 นิสัยของกระต่าย
กระต่ายเป็นสัตว์ที่รักความสะอาด โดย ถ้าสังเกตดูดีๆก็จะเห็นเขาทำความสะอาด ตัวเอง โดยเขาจะเลีย ขาของเขา เลียมือ และ เท้า หรือ เอาเท้าลูบที่หน้า หรือตัว เพื่อทำความสะอาดตัวของเขา กระต่ายเป็นสัตว์ที่ชอบระแวง เนื่องจากเป็นสัตว์ประเภทถูกล่า หากคุณต้องการให้เค้าเชื่อง คุณต้องทำให้เค้าเชื่อใจและไว้ใจคุณก่อน อย่าอุ้มหรือเล่นแรงๆในขณะที่เค้าขัดขืน ให้คอยดูอยู่ห่างๆไปก่อน เข้าใกล้ได้บ้างบางเวลาทำเป็นไม่สนใจเค้า เมื่อใดที่คุณทำให้เค้าไว้ใจและรู้สึกปลอดภัย เค้าจะเป็นฝ่ายเข้ามาหาคุณเอง
1. การกินมูลตัวเอง  หลายๆคนอาจเคยเห็นกระต่ายกินมูลของตนเอง ไม่ต้องตกใจไปค่ะ เพราะนั่นเป็นพฤติกรรมตามธรรมชาติของเค้า พฤติกรรมนี้เรียกว่า Coprophagy โดยจะเกิดในช่วงเช้า มู,ที่ถ่ายออกมาจะเป็นก้อนนิ่มๆติดกันเรียกว่า อึพวงองุ่น ซึ่งกระต่ายจะกินอึพวงองุ่นเข้าไป นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการทดลอง และพบว่า การกินอึพวงองุ่นเข้าไปจะช่วยให้ภาวะในลำไส้เป็นปกติ เพราะจะมีแบคทีเรียที่ดี กลับเข้าสู่ลำไส้ และแบคทีเรียในลำไส้กระต่ายสามารถผลิตวิตามินบี ซึ่งเมื่อกระต่ายกินอึเหล่านี้เข้าไปก็จะได้รับวิตามินบีด้วย กระต่ายจะก้มลงกินเมื่อขับถ่ายออกมา ลองสังเกตุดูค่ะ ลูกกระต่ายที่ยังไม่อย่านม อาจกินอึของแม่ แม้ว่าจะไม่ใช่อึพวงองุ่น แต่ก็มีส่วนช่วยระบบย่อยอาหารของลูกกระต่ายให้มีภาวะสมดุลขึ้น
2. การส่งเสียง  โดยปกติกระต่ายจะไม่ค่อยส่งเสียงร้อง ยกเว้นเวลาตกใจหรือกลัวมากๆ บางตัวอาจหวีดร้องดังๆ ออกมา แต่ก็ไม่เสมอไป กระต่ายเลี้ยงที่บ้านของเรา อาจมีพฤติกรรมขู่ในลำคอ จนออกมาเป็นเสียง อุ๊กๆๆๆ หรือฮื่อๆๆๆ แล้วแต่การได้ยินของแต่ละคน ซึ่งมักจะหมายความว่าอย่ามายุ่งกะชั้นนะ กระต่ายท้องบางตัวอาจหวงตัวและร้องแบบนี้เช่นกัน แต่ก็มีกระต่ายบางตัว เวลาตกใจก็ร้องแบบนี้ เวลาจะขอกินก็ร้องแบบนี้ เวลาไม่พอใจก็ร้อง หรือเวลาที่ชอบสุดๆ คือลูบหัวให้ก็ร้อง เวลาชอบอกชอบใจอะไรสักอย่าง เวลากินก็จะทำเสียง อึกๆๆๆ ในลำคอ ทั้งนี้ขึ้นกับว่ากระต่ายของเรานิสัยอย่างไร ไม่เสมอไปว่ากระต่ายร้องจะต้องไม่สบายเสมอไปค่ะ
3. การนอน  กระต่ายเป็นสัตว์หากินกลางคืน จะตื่นตอนกลางคืนเพื่อหากิน และจะหลับในเวลากลางวัน แต่ที่เราไม่เห็นเค้านอนเพราะ กระต่ายบางตัวจะนั่งนิ่งๆ สักพัก โดยไม่หลับตา และนั่นคือการนอนของเค้า เพราะกระต่ายมีสัญชาติญาณในการระวังตัวสูง เค้ามักตกอยู๋ในสถานะผู้ถูกล่าเสมอ เค้าจึงจะระวงัตัวตลอดเวลา แต่ก็อีก กระต่ายบางตัวทำท่าหลับได้ใจมาก หลับๆๆๆ หลับคาถ้วยอาหารไปก็มี เพราะเค้ารู้สึกปลอดภัย และสุขใจที่จะนอนแบบสบายๆค่ะ
4. การก้าวร้าว จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอุปนิสัยของกระต่าย การก้าวร้าวอาจเกิดจากการตามใจจนติดเป็นนิสัย, การถูกรังแก, ความต้องการเป็นเจ้าของอาณาเขต ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดจากการตามใจ และการถูกรังแก จนฝังใจมากกว่า กระต่ายจะแสดงออกโดยการกัดเวลายื่นมือเข้าไป หรือกัดเวลาได้ของไม่ถูกใจ การตามใจมากไป เช่นเค้าคว่ำอาหารเราก็เปลี่ยนใหม่ให้ทุกครั้ง เมื่อทำอาหารหก เราไม่เคยดุ แถมปลอบซ้ำแล้วเอาอาหารใหม่มาให้ บางทีกระต่ายอาจอยากได้อาหารเพิ่ม และกัดเรา ส่วนใหญ่เราจะรีบให้อาหารใหม่ทันที นั่นถือเป็นการกระทำที่ผิด เพราะยิ่งเค้ากัดเรา เราให้ใหม่เค้าจะเข้าใจว่านั่นคือสิ่งที่ถูก เราควรค่อยๆสอน และพูดกับเค้า ให้หยุดกัดจึงให้ใหม่ เค้าสามารถเรียนรู้ได้ค่ะ บางครั้งกระต่ายที่ถูกรังแก จนกลายเป็นความหวาดระแวง 
5. การกัดแทะสิ่งของ กระต่ายเป็นสัตว์ฟันแทะ เค้าจำเป็นต้องแทะ เพื่อให้ฟันที่ขบกันมีการสึก และฟันไม่งอกยาวจนเกินไป  แต่บางครั้งกระต่ายน้อยของเราก็เริ่มแทะสิ่งของที่ไม่ควรแทะ โดยเฉพาะสายไฟ สิ่งที่เราทำได้คือ เก็บของเหล่านั้นให้ออกจากรัศมีกระต่ายน้อยของเราซะ เพื่อป้องกันการกัดแทะ แต่กระต่ายบางตัวน่ารัก ไม่มีแทะสักจุด เราอาจหาเศษไม้ เช่น กิ่งไม้แห้งแข็งๆ ทิ้งไว้ในกรง เพื่อให้กระต่ายใช้ลับฟัน ระวังการกัดแทะพวกพลาสติก ซึ่งกระต่ายน้อยอาจกินเข้าไป ทำให้เกิดอาการท้องอืดได้                    
6. การขุด กระต่ายเป็นนักขุดตัวยงเลยล่ะค่ะ หากลองปล่อยลงพื้นดินเมื่อไรต้องมี ขุดๆๆๆ จนมอมแมมกันไปข้าง เพราะสมัยก่อน (ก่อนที่จะมาเป็นกรตะยบ้าน) เค้าต้องขุดโพรงอยู่ โดยโพรงจะมีความลึก และสามารถซ่อนตัวได้ จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมกระต่ายเราชอบขุดจังเลย ทั้งๆที่พื้นเป็นพื้นปูนแข็งขุดยังไงก็ไม่ลึด แน่นอน แต่การขุดบอกได้หลายอาการนะคะ เช่น การขุดเพื่อสร้างรัง ถ้าเกิดในแม่กระต่ายท้องล่ะก็เตรียมรังคลอดให้เค้าได้เลย อีกไม่นานจะมีกระต่ายน้อยๆออกมาค่ะ การขุดพื้นทำให้เล็บกระต่ายสั้นลง ไม่ต้องมาเสียเวลาตัด ในกรณีขุดบนพื้นปูนไม่เรียบนะคะ  
7. การเคาะเท้า เป็นการบอกสัญญาณว่าจะมีเหตุไม่ดีเกิดขึ้น โดยกระต่ายจะใช้เท้าหลังเคาะพื้นให้เกิดเสียง เมื่อกระต่ายเคาะเท้าเราควรสังเกตุรอบๆกรงว่ามีเหตุใดเกิดขึ้นรึเปล่า มีสัตว์ไม่ได้รับเชิญอยู่บริเวณใกล้ๆหรือไม่ เพระกระต่ายจะมีสัญชาตญาณมากกว่าเรา และอีกกรณีเมื่อมรการจับคู่ผสมพันธุ์ เมื่อกระต่ายเพศผุผสมพันธุ์เสร็จ จะมีพฤติกรรมเคาะเท้าด้วยเหมือนกัน ไม่ควรให้กระต่ายมรการเคาะเท้าบ่อยนัก เพราะอาจทำให้เกิดแผลที่ฝ่าเท้าได้
8. การแสดงอาณาเขต สามารถเกิดได้ทั้งเพศผู้และเพศเมีย โดยจะเอาคางถูสิ่งของตามบริเวณนั้นๆ ตัวผู้จะมีพฤติกรรมหวงอาณาเขตมากกว่าตัวเมีย ซึ่งเป็นไปได้ยากที่จะให้กระต่ายตัวผู้ 2 ตัวมาอยู่ด้วยกัน แม้ว่าจะเติบโตด้วยกันมา แต่ไม่เสมอไปนะคะ บางคนก็เลี้ยงตัวผู้กรงเดียวกันโดยไม่ตีกันก็มี ขึ้นกับนิสัยของกระต่ายเราด้วย กระต่ายตัวผู้จะมีต่อมกลิ่นอยู่ และจะถูๆกลิ่นนั้นไปทั่วบริเวณ และจะคอยดูแลไม่ให้กระต่ายอื่นๆเข้ามาได้ ยกเว้นกระต่ายเพศตรงข้าม เมื่อเราจะนำกระต่าย 2 ตัวมาอยู๋ที่เดียวกัน ควรให้กระต่ายทำความรูจักกันนอกสถานที่ก่อน และควรเป็นที่กลาง ไม่มีใครเป็นเจ้าของอาณาเขต และจัดการทำความสะอาดบริเวณที่กระต่ายตัวเดิมอยู่ เพื่อลบกลิ่นอาณาเขตเก่า
                                    ภาษากายของกระต่าย


- ดมที่ตัวเรา – อาจแสดงความรำคาญ หรือ อยากจะคุยกับเรา   (แบบว่าอยากรู้จักอ่ะ )
- คำรามในลำคอ – กำลังโกรธ หรือกะลังตั้งท่ากัดเรานี่แหละ    ( เตรียมหนี )
 - ส่งเสียงร้องอย่างหวาดกลัว – แสดงว่ากระต่ายน้อยของเรากำลัง   ได้รับอันตราย หรืออาจตกอยู่ในภาวะอันตรายอยู่ เช่น อาจเผชิญหน้า    อยู่กับสุนัข หรือแมว เราควรรีบไปดูว่าเกิดอะไรขึ้นกับกระต่ายน้อย    ของเรา
 - วิ่งวนรอบๆเท้าของเรา – เป็นการแสดงสัญชาตญาณทางเพศตาม ธรรมชาติของกระต่าย หรือกำลังมีความรัก
 - ฉี่ไปรอบๆ – กระต่ายเพศผู้ที่ยังไม่ได้ตอน จะแสดงอาณาเขตของตัว    เองเพื่อดึงดูดตัวเมีย ( ว่าข้านี่แหละเจ้าถิ่น ) แตjกระต่ายตัวเมียบางตัว    ก็อาจทำเช่นนี้เช่นกัน
 - การเอาคางถูๆๆ – ที่ใต้คางกระต่ายจะมีต่อมกลิ่นอยู่ ซึ่งกระต่าย    จะเอาคางถูๆ สิ่งของ หรือบริเวณที่ตนเองไปเพื่อแสดง อาณาเขต     พฤติกรรมนี้เป็นได้ทั้งเพศผู้และเพศเมีย
 - การตั้งทองเทียม – จะเกิดขึ้นเฉพาะในเพศเมีย โดยกระต่ายจะสร้างรัง  โดยดึงขนจากบริเวณต่างๆ เช่นไหล่ หลัง และ ท้อง และกินน้อยลง    อาการทุกอย่างจะเหมือนกระต่ายที่ใกล้คลอดลูกจริงๆ เพียงแต่กระต่าย   ที่ท้องเทียมจะไม่มีลูก ออกมา  อาหารนี้อาจเกิดขึ้นเพียง 1 วัน หรือ    มากสุด 3 วัน ( ถ้าไม่อยากให้กระต่ายน้อยถอนขนจนหมดสวย    แนะนำให้เอาหญ้า หรือผ้าไปให้เค้าเยอะๆ )
 - กระโดด ๆๆ อย่างอารมณ์ดี – แสดงว่ากระต่ายน้อยของเรากำลัง    อารมณ์ดี
 - เล่น – กระต่ายจะมีพฤติกรรมชอบดึงหรือขว้างสิ่งของ (เราอาจเอาลูก  บอลกระดิ่งไปวางให้ก็ได้ค่ะ เพราะเค้าจะคาบแล้วเขวี้ยงเล่น) หรือแม้  กระทั่งวิ่งไปรอบๆบริเวณบ้าน
 - อย่ามายุ่งกะที่นอนฉัน – กระต่ายบางตัวอาจมีอาการโกรธ    หรือไม่พอใจเวลาเราเข้าไปใกล้ๆ บ้านหรือรังนอน อาจส่ง   เสียงคำรามเบาๆในลำคอ เวลาคุณทำความสะอาดกรงของเค้า
 - กระทืบเท้า – เขาอาจเจอสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามา หรืออาจกำลัง คิดว่าตัวเองตกอยู่ในอันตราย ( เช่นมีสุนัข หรือแมวเดินมา )
 - มาดึงที่เสื้อผ้าของเรา – แปลว่าอยากให้เราสนใจเค้าบ้าง    หรืออยากให้เราเล่นด้วย
โรคที่เกี่ยวกับกระต่าย



1. พาสเจอร์เรลโลลิส (Pasturellosis)
เป็นโรคที่พบบ่อยและเป็นปัญหาที่สำคัญในกระต่าย โรคนี้มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ พาสเจอเรลลา มัลโตซิดา (Pasturella multocida) ซี่งทำให้กระต่ายป่วยและมีอาการ แตกต่างกันตามอวัยวะที่ติดเชื้อดังนี้
1.1 หวัด กระต่ายจะจามบ่อย ๆ มีน้ำมูกไหลออกจากช่องจมูก หายใจไม่สะดวก จมูกและเท้าหน้าจะเปียกชุ่มและมีน้ำมูกตดเนื่องจากกระต่ายใช้เท้าหน้าเช็ดจมูก รักษาโดย ให้ยากิน เช่น เพนนิวิลลิน วี (Penicillin V ) หรือถ้าไม่แน่ใจให้รีบนำไปปริกษาสัตวแพทย์
1.2 ปอดบวม มักเกิดจากการเป็นหวัดแล้วลุกลามเข้าสู่ปอด กระต่ายจะหายใจ ลำบาก หอบ และอาจหายใจด้วยท้อง ริมฝีปากและเปลือกตาจะมีสีคล้ำ ในระยะแรกจะมีไข้สูง เบื่ออาหารและนอนหมอบนิ่ง ลูกกระต่ายถ้าเป็นโรคนี้ส่วนใหญ่จะตาย สำหรับกระต่ายใหญ่จะมี โอกาสรอดเพียง 75 % ดังนั้นถ้าพบอาการเช่นนี้ในกระต่ายควรรีบนำกระต่ายไปพบ สัตวแพทย์ทันที
1.3 ตาอักเสบ มักเกิดหลังจากที่กระต่ายเป็นหวัด เนื้องจากกระต่ายชอบใช้เท้าหน้า เช็ดจมูก ทำให้เชื้อโรคจากจมูกเข้าสู่ตาได้ง่าย อาการเริ่มแรกคือหนังตาและตาขาว อักเสบ บวมแดง บางครั้งมีหนอง ส่วนแก้วตาจะอักเสบและขุ่นขาว ถ้าไม่รีบรักษาอาจทำให้ตาบอดได้
การรักษา ล้างตาให้สะอาดโดยใช้น้ำเกลืออ่อนๆ (0.85%) หรือน้ำยาล้างตา แล้วใช้ยาปฎิชีวนะในรูปครีม หรือใช้ยาหยอดตาของคนทาจนกว่าจะหาย
1.4 อัณฑะอักเสบ เกิดจากติดเชื้อที่อัณฑะ ทำให้ลูกอัณฑะขยายใหญ่ และมีหนองเมื่อ จับที่อัณฑะจะรู้สึกร้อนกว่าปกติ การอักเสบมักลุกลามไปทื่อวัยวะเพศ ทำให้สามารถติดต่อได้ โดยการผสมพันธุ์ การรักษามักไม่ได้ผลจึงควรคัดทิ้ง
1.5 มดลูกอัดเสบ เกิดจากการติดเชื้อหลังคลอดลูกหรือจากการผสมพันธุ์ ผนังมดลูกจะเกิดการอักเสบ มีหนองภายในโพรงมดลูกและอาจพบหนองถูกขับออกมาทาง อวัยวะเพศ มักมีไข้สูง เมื้อคลำตรวจจะพบว่ามดลูกขยายใหญ่ การรักษาทำได้ยากมากและ กระต่ายมักจะเป็นหมันจึงควรคัดทิ้ง
2. สแตฟฟิลโลคอคโคซีส (Staphylococcosis)
โรคนี้มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ สแตฟฟิลโลคอคคัส ออเรียล (Staphylococcus aureus) ทำให้กระต่ายป่วยและมีอาการดังนี้
2์.1 ฝีหนองใต้ผิวหนัง เกิดจากการติดเชื้อที่ผิวหนัง ทำให้เป็นหนองซึ่งมีเปลือกหุ้ม เมื่อฝีสุกเปลือกฝีส่วนหนึ่งจะบางลงและแตกออกมีหนองไหลออกมา
การรักษา ต้องรอให้ฝีสุกและเจาะเอาหนองออก ขูดเปลือกฝีด้านในให้สะอาด แล้วทาด้วยทิงเจอร์ไอโอดีน
2.2 เต้านมอักเสบ เต้านมจะร้อน บวมแดง มีไข้ กระต่ายตัวที่เป็นอย่างรุนแรง เต้านม จะมีสีคล้ำ เย็น และแข็ง ถ้าพบอาการเช่นนี้ควรคัดทิ้งหรือถ้าญม่แน่ใจควรรีบปริกษาสัตวแพทย์
2.3 ข้ออักเสบ เกิดจากมีบาดแผลที่ผิวหนังบริเวณฝ่าเท้าแล้วเชื้อโรคลุกลามเข้าสู่ ข้อเท้าทำให้ข้อบวมแดง เจ็บปวด กระต่ายอาจมีไข้และมักพบบาดแผลที่ฝ่าเท้า
การรักษา ทำความสะอาดแผล แล้วทาด้วยทิงเจอร์ไอโอดีน ถ้ามีหนองในข้อจะ รักษาได้ยากและอาจจำเป็นต้องตัดขาเหนือข้อที่อักเสบ ควรป้องกันโดยการดูแลพื้นกรงอย่า ให้มีส่วนแหลมคมยื่นออกมาตำเท้ากระต่าย
3. โรคบิด (Coccidiosis)
เกิดจากเชื้อโปรโตชัวพวกไอเมอร์เรีย ได้แก่ Eimeria stiedac, E. irresdua, E.magna ฯลฯ การติดต่อจะเกิดจากโอโอซิส (Oocyst) ของเชื้อที่ปนมากับอาหารและน้ำ
อาการ ถ้าเป็นน้อยจะไม่แสดงอาการ แต่ถ้าเป็นมากซึ่งมักพบในลูกกระต่ายจะทำให้ น้ำหนักลด ท้องเสีย อาจถ่ายเป็นน้ำหรือมีเลือดปน และอาจทำให้ตายได้
การรักษา เลือกใช้ยาในกลุ่มซัลฟา (Sulfa) หรือแอมโปรเลียม (Amprolium )
4. โรคพิซเชอร์ (Tizzer 's disease)
เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชชื่อ แบซิลลัส ฟิลลิฟอร์มิส (Bacillus pilliformis) มักพบ ในกระต่ายที่มีอายุ 7-12 สัปดาห์มากที่สุด
อาการ ท้องเสีย ถ่ายเป็นน้ำหรือเลือด ในรายที่เกิดอย่างเฉียบพลันจะมีเลือดออก จากลำไส้ใหญ่ กระต่ายจะตายเนื่องจากเสียน้ำและเลือดมาก
การรักษา ให้ยาออกซี่เตตร้าชัยคลีน (Oxytetracyclin) ละลายน้ำให้กิน
5. โรคติดเชื้อ อี.โค.ไล (Colibacillosis)
เกิดจากการเพิ่มจำนวนของเชื้อ E.coli ในทางเดินอาหาร กระต่ายจะมีอาการท้องเสีย อย่างรุนแรงและตายได้
การรักษา แก้ไขตามอาการ อาจให้ยาปฎิชีวนะเพื่อลดจำนวนแบคทีเรียในลำไส้ ให้น้ำเกลือ ลดอาหารข้น เพิ่มอาหารหยาบ
6. เอ็นเทอร์โรท๊อกซีเมีย (Enterotoxemia)
เกิดจากเชื้อคลอสติเดียม (Clostridium spp.) ทำให้กระต่ายท้องเสียหรือตาย อย่างเฉียบพลัน การรักษาเช่นเดียวกับโรคติดเชื้ออีโคไ
7. ไรในหู (ear mange or ear canker)
เกิดจากไรพวกโชรอบเตส แคนิคุไล(Psoroptes caniculi)
อาการ จะเห็นแผ่นสีน้ำตาลคล้ายขี้หูซ้อนเป็นชั้น ๆ ที่ด้านในของใบหู ถ้าสังเกตุดี ๆ จะพบตัวไรขนาดเล็กสีน้ำตาลจำนวนมาก กระต่ายที่เป็นโรคนี้จะคันหูทำให้มันสั่นหัวและใช้เท้าเกาหู บางตรังเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย ทำให้มีหนองและมีกลิ่นเหม็น
การรักษา ทำความสะอาดด้านในของใบหู เช็ดด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกใชด์(H202) แล้วทาด้วยขี้ผึ้งกำมะถันให้ทั่ว ควรป้องกันโดยการตรวจหูกระต่ายเป็นประจำและทำความ สะอาดกรงและอุปกรณ์การเลี้ยงเสมอ ๆ
8. ไรที่ผิวหนัง (skin mange)
เกิดจากไรพวก Sarcoptes scabei , var. cuniculi, Notedes cati var. caniculi
อาการ ผิวหนังเป็นสะเก็ดหนาและย่น ขนร่วง พบมากที่ปลายจมูก และขอบใบหู
การรักษา ขูดผิวหนังให้สะเก็ดหลุดออก ทาด้วยขี้ผึ้งกำมะถัน ถ้ายังไม่หายควรปรึกษา สัตวแพทย์ การป้องกันและควบคุมทำเช่นเดียวกับโรคไรในหู


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น