วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ธุรกิจโมเดลอาหาร


ในปัจจุบันนี้ผู้ประกอบการหลายราย ได้หันมาให้ความสำคัญกับอาหารที่นำมาโชว์เพื่อเรียกน้ำย่อยให้กับลูกค้า ที่จากใช้ของจริง ต้องปรับเปลี่ยนทุกวัน ซึ่งก็ถือเป็นต้นทุนอย่างหนึ่ง ที่ต้องเสียอาหารไป 1 เมนูทุกวัน ส่งผลให้ธุรกิจโมเดลอาหารเป็นทางเลือกหนึ่งที่ผู้ประกอบการร้านอาหารของ ไทยได้หันมาเลือกใช้การลงทุนที่คุ้มค่าในระยะยาวเช่นนี้กันมากขึ้น
foodmodel01
ไอเดียการทำโมเดลอาหารที่ทำจากเรซิ่นบ้าง ดินญี่ปุ่นบ้าง เกิดจากนายสุเทพ นาคพงศ์พันธ์ เจ้าของธุรกิจโมเดลอาหาร เล่าว่า แต่เดิมตนเองทำงานเกี่ยวกับไฟแนนซ์ แต่โดยส่วนตัวเป็นคนที่ชอบงานปั้น โดยเฉพาะของจิ๋ว เช่น ดอกไม้ประดิษฐ์ และงานปั้นขนาดเล็กหลากหลายชนิด จนได้มีโอกาสไปออกงานแสดงสินค้าในต่างประเทศกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งในการเดินทางไประเทศญี่ปุ่นนั้น ถือเป็นการจุดประกายไอเดียในธุรกิจโมเดลอาหาร ที่ในขณะนั้นที่ญี่ปุ่นเป็นที่นิยมมากในการทำโมเดลอาหาร
foodmodel02
หลังจากนั้นประมาณ 2-3 ปีต่อมา เพื่อนของสุเทพ ที่ใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น ให้ลองปั้นโมเดลอาหารไทย เพื่อส่งขายให้กับร้านอาหารไทยที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งก็ได้รับการตอบรับดี เนื่องจากฝีมือที่ประณีต สีสันที่เหมือนอาหารไทย โดยจากเดิมที่ผลิตจากญี่ปุ่น ราคาจะสูงมาก รวมถึงคนญี่ปุ่นไม่รู้จักอาหารไทยดีกว่าคนไทย ส่งผลให้บางครั้งสีสันก็ไม่เหมือนกับอาหาร
foodmodel03
“ในเรื่อง ของการทำโมเดลนั้น เริ่มมาจากประเทศในแถบยุโรปที่ได้นำกระดาษมาเป็นแบบจำลอง โดยจำกัดในวงการแพทย์ แต่คนญี่ปุ่นได้นำมาดัดแปลงเป็นโมเดลอาหาร และพัฒนามาสู่การปั้นจากดินญี่ปุ่น ซึ่งปัจจุบันในประเทศญี่ปุ่นร้านอาหารไม่ว่าจะขนาดเล็กหรือใหญ่ต่างใช้โมเดล ในการจัดแสดงเมนูอาหารเพื่อดึงดูดลูกค้ากันเป็นจำนวนมาก ซึ่งเราก็ได้เห็นโอกาสของธุรกิจนี้ จึงคิดนำมาเผยแพร่ในประเทศไทยดูบ้าง ก็ถือได้ว่าประสบความสำเร็จระดับหนึ่ง คนไทยหันมาใช้โมเดลอาหารกันมากขึ้น โดยเฉพาะร้านอาหารญี่ปุ่น เกาหลี และอาหารไทย แบรนด์ดัง ที่มีจำนวนสาขามากมาย ต่างก็ให้ความสำคัญกับโมเดลอาหารกันอย่างต่อเนื่อง”
foodmodel04
สำหรับธุรกิจโมเดลอาหารของสุเทพนั้น เรียกได้ว่าได้นำทุกศาสตร์ของงานฝีมือมาใช้เกือบทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น งานปั้น งานหล่อ และใช้วัตถุดิบหลากหลายชนิด เช่น ดินญี่ปุ่น ยางซิลิโคน โฟมอย่างนิ่ม (เป็นการผสมผสานระหว่างโฟมกับฟองน้ำ) ในขณะที่การใช้สี ก็มีความหลากหลายเช่นเดียวกัน อย่าง สีน้ำมัน สีทาบ้าน สีอะคริลิค หรือแม้กระทั่งสีพ่นรถยนต์ ซึ่งวัตถุดิบเหล่านี้หาไม่ยากนัก และราคาไม่แพง แต่ต้นทุนหลักอยู่ที่แม่พิมพ์ (โมล์) เพราะการขึ้นงาน 1 ชิ้น ก็ต้องทำต้นแบบใหม่ ตามที่ลูกค้าต้องการ
foodmodel05
“ขณะนี้ผลงานของสุเทพ ได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องจากผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจด้านอาหารทั้ง รายเล็กและรายใหญ่ ซึ่งขณะนี้โมเดลอาหารที่ลูกค้าสั่งให้ผลิตกันมากจะเป็นอาหารเกาหลี ญี่ปุ่น และร้านก๋วยเตี๋ยว ที่เป็นแฟรนไชส์โดยสั่งผลิตลูกชิ้น เพื่อนำไปวางโชว์ที่ตู้กระจก แทนการนำลูกชิ้นที่เป็นของจริงมาจัดวางไว้ ซึ่งจะเสี่ยงต่อการเน่าเสีย จากสภาพอากาศของเมืองไทยที่ค่อนข้างร้อน แม้ราคาจะสูงกว่าการสินค้าของจริงมาตั้งวางโชว์ในแต่ละวัน แต่หากคิดในระยะยาวถือว่าคุ้มค่า เพราะสามารถวางได้นานหลายปี”
foodmodel06
ส่วนขั้นตอนการทำลูกค้าต้องรูปภาพอาหารที่ชัดเจนมาให้เพื่อความสมจริงของโมเดลอาหารที่ลูกค้าต้องการ โดยระยะเวลาในการทำอยู่ที่ประมาณ 1 สัปดาห์ หากสินค้าไม่เกิน 10 รายการ ซึ่งถือเป็นระยะเวลาที่ไม่นานมากนัก เนื่องจากทางสุเทพได้ปั้นวัตถุดิบพื้นฐาน อย่าง พริก กระเทียม ผักต่างๆ ที่เป็นวัตถุดิบในการนำไปประกอบเป็นอาหารไทย โดยทำคล้ายกับห้องครัวที่พร้อมหยิบจับวัตถุดิบนำไปประกอบเป็นอาหารได้ตลอด เวลา
foodmodel07
นอกจากการรับทำโมเดลอาหารแล้ว สุเทพ ยังรับงานโรงพยาบาลทำงานจำลองอวัยวะต่างๆ เช่น เต้านม ฟันปลอม เพื่อเพิ่มความเข้าใจให้กับคนไข้มากขึ้นด้วย รวมถึงการรับทำโมเดลแบบแลนด์สเคป (Landscape) ที่เป็นการจำลองทิวทัศน์ ของสถานที่นั้นๆ ซึ่งถือเป็นงานที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ แต่ที่ผ่านมาทางสุเทพ จะไม่รับงานที่มีขนาดสูงเกิน 2 เมตร เนื่องจากต้องใช้เวลาผลิตงานนานกว่าปกติ
foodmodel08
อย่างไรก็ตามสุเทพกล่าวทิ้งท้ายว่า ในอนาคตคาดว่าธุรกิจโมเดลอาหารจะมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะคนไทยมีความเข้าใจในการลงทุนระยะยาวมากขึ้น ที่คุ้มค่ากว่าการนำอาหารของจริงมาตั้งโชว์ให้กับลูกค้า
 ขอบคุณ Thai Sme Franchise : ศูนย์รวมธุรกิจ SME ที่ใหญ่ที่สุดในไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น