วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

สุขภาพจิต

สุขภาพจิต คือ สภาพชีวิตที่เป็นสุขมีอารมณ์มั่นคงสามารถปรับตัว ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มีสมรรถภาพในการ ทำงาน และอยู่ร่วมกับผู้อื่นด้วยความพอใจ สุขภาพไม่ว่าจะเป็นสุขภาพกายหรือสุขภาพจิตเป็นสิ่งสำคัญและ จำเป็นสำหรับทุกชีวิตในการดำรงอยู่อย่างปกติ เป้าหมายของการเรียนรู้ วิชาสุขภาพจิต ก็คือ การทำให้ชีวิตมีความสุข ความพอใจ ความสมหวัง ทั้งของตนเองและของผู้อื่น ความสำคัญของสุขภาพจิต "สุขภาพจิต" มีผลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์หลายด้าน ดังนี้ 1. ด้านการศึกษา ผู้ที่สุขภาพจิตดีย่อมมีจิตใจปลอดโปร่ง สามารถศึกษาได้สำเร็จ 2. ด้านอาชีพการงาน ผู้ที่สุขภาพจิตดีย่อมมีกำลังใจต่อสู้อุปสรรค ไม่ท้อแท้ เบื่อหน่าย ทำงานก็บรรลุผลสำเร็จ 3. ด้านชีวิตครอบครัว คนในครอบครัวสุขภาพจิตดี ครอบครัวก็สงบสุข 4. ด้านเพื่อนร่วมงาน ผู้ที่สุขภาพจิตดีย่อมไม่เป็นที่รังเกียจ ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ดี 5. ด้านสุขภาพร่างกาย ถ้าสุขภาพจิตดีร่างกายก็สดชื่น หน้าตายิ้มแย้ม สมองแจ่มใส เป็นที่สบายใจแก่ผู้พบเห็น อยากคบค้าสมาคมด้วย ลักษณะของผู้ที่มีสุขภาพจิตดี ผู้ที่มีสุขภาพจิตดีมีลักษณะหลายประการ ดังนี้ 1. เป็นผู้ที่มีความสามารถและความเต็มใจที่จะรับผิดชอบอย่าง เหมาะสมกับระดับอายุ 2. เป็นผู้ที่มีความพอใจในความสำเร็จจากการได้เข้าร่วม กิจกรรมต่าง ๆ ของกลุ่ม โดยไม่คำนึงว่าการเข้าร่วมกิจกรรมนั้น จะมีการถกเถียงกันมาก่อนหรือไม่ก็ตาม 3. เป็นผู้เต็มใจที่จะทำงานและรับผิดชอบอย่างเหมาะสมกับบทบาท หรือตำแหน่งในชีวิตของเขา แม้ว่าจะทำไปเพื่อต้องการตำแหน่งก็ตาม 4. เมื่อเผชิญกับปัญหาที่จะต้องแก้ไข เขาก็ไม่หาทางหลบเลี่ยง 5. จะรู้สึกสนุกต่อการขจัดอุปสรรคที่ขัดขวางต่อความสุขหรือ พัฒนาการ หลังจากที่เขาค้นพบด้วยตนเองว่า อุปสรรคนั้นเป็นความจริง ไม่ใช่อุปสรรคในจินตนาการ 6. เป็นผู้ที่สามารถตัดสินใจด้วยความกังวลน้อยที่สุด มีความรู้สึกขัดแย้งในใจและหลบหลีกปัญหาน้อยที่สุด 7. เป็นผู้ที่สามารถอดได้ รอได้ จนกว่าจะพบสิ่งใหม่ หรือ ทางเลือกใหม่ที่มีความสำคัญหรือดีกว่า 8. เป็นผู้ที่ประสบผลสำเร็จด้วยความสามารถที่แท้จริง ไม่ใช่ความสามารถในความคิดฝัน 9. เป็นผู้ที่คิดก่อนทำ หรือมีโครงการแน่นอนก่อนที่จะปฏิบัติ ไม่มีโครงการที่ถ่วงหรือหลีกเลี่ยงการกระทำต่าง ๆ 10. เป็นผู้ที่เรียนรู้จากความล้มเหลวของตนเองแทนที่จะหา ข้อแก้ตัวด้วยการหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง หรือโยนความผิดให้แก่คนอื่น 11. เมื่อประสบผลสำเร็จ ก็ไม่ชอบคุยโอ้อวดจนเกินความเป็นจริง 12. เป็นผู้ที่ปฏิบัติตนได้สมบทบาท รู้ว่าจะปฏิบัติอย่างไรเมื่อถึงเวลา ทำงาน หรือจะปฏิบัติอย่างไรเมื่อถึงเวลาเล่น 13. เป็นผู้ที่สามารถจะปฏิเสธต่อการเข้าร่วมกิจกรรมที่ใช้เวลา มากเกินไปหรือกิจกรรมที่สวนทางกับที่เขาสนใจแม้ว่ากิจกรรมนั้นจะทำให้ เขาพอใจได้ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งก็ตาม 14. เป็นผู้ที่สามารถตอบรับที่จะเข้าร่วมกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ สำหรับเขา แม้ว่ากิจกรรมนั้นจะไม่ทำให้เขาพึงพอใจก็ตาม 15. เป็นผู้ที่จะแสดงความโกรธออกมาโดยตรง เมื่อเขาได้รับ ความเสียหายหรือถูกรังแก และจะแสดงออกเพื่อป้องกันความถูกต้อง ของเขาด้วยเหตุด้วยผลการแสดงออกนี้จะมีความรุนแรงอย่างเหมาะสม กับปริมาณความเสียหายที่เขาได้รับ 16. เป็นผู้ที่สามารถแสดงความพอใจออกมาโดยตรงและจะแสดงออก อย่างเหมาะสมกับปริมาณและชนิดของสิ่งที่ก่อให้เกิดความพึงพอใจ 17. เป็นผู้ที่สามารถอดทน หรืออดกลั้นต่อความผิดหวัง และ ภาวะความคับข้องใจทางอารมณ์ได้ดี 18. เป็นผู้ที่มีลักษณะนิสัยและเจตคติที่ก่อรูปขึ้นอย่างเป็นระเบียบ เมื่อเผชิญกับสิ่งยุ่งยากต่าง ๆ ก็สามารถจะประนีประนอมนิสัยและเจตคติ เข้ากับสถานการณ์ที่ยุ่งยากต่าง ๆ ได้ 19. เป็นผู้ที่สามารถระดมพลังงานที่มีอยู่ในตัวออกมาใช้ได้อย่างทันที และพร้อมเพรียง และสามารถรวมพลังงานนั้นสู่เป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อความสำเร็จของเขา 20. เป็นผู้ที่ไม่พยายามที่จะเปลี่ยนแปลงความจริงซึ่งชีวิตของเขา จะต้องดิ้นรนต่อสู้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด แต่เขาจะยอมรับว่าบุคคลจะต้องต่อสู้ กับตนเอง ฉะนั้นเขาจะต้องมีความเข้มแข็งให้มากที่สุด และใช้วิจารณญาณ ที่ดีที่สุด เพื่อจะผละจากคลื่นอุปสรรคภายนอก ประโยชน์ของการมีสุขภาพจิตดี 1. ช่วยให้สามารถแก้ไขปรับปรุงการดำรงชีวิตให้อยู่ในสังคมได้อย่างราบรื่น เหมาะสม มีความสุข รู้จักจุดอ่อน จุดเด่นของตนเอง 2. ช่วยปรับปรุง แก้ไข และป้องกันความคับข้องใจ 3. ช่วยให้เกิดความเข้าใจตนเองและผู้อื่น รู้จิตใจ ความรู้สึก อารมณ์ของคนอื่นได้ 4. ช่วยให้สามารถพัฒนาอาชีพ การงาน และครอบครัว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น